วันอังคารที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

คำสมาส - คำสนธิ - คำแผลง




















สรุปเนื้อหา

คำสมาส

คำสมาส การสร้างคำสมาสในภาษาไทยได้แบบอย่างมาจากภาษาบาลีและสันสกฤต โดยนำคำบาลี-สันสกฤต ตั้งแต่สองคำมาต่อกันหรือรวมกัน ลักษณะของคำสมาสเป็นดังนี้
๑. เป็นคำที่ต้องมาจากภาษาบาลี-สันสกฤต จะนำคำจากภาษาอื่นเข้ามารวมกันไม่ได้ ตัวอย่างเช่น ราชการ ยุทธวิธ เอกชน
แต่คำประสม คำซ้อนบางคำอาจมีลักษณะคล้ายคำสมาส แต่มีภาษาอื่นปนก็จะไม่ถือเป็นคำสมาสเช่น กรมท่า กรมขุน
สรรพสินค้า
๒. คำสมาสส่วนมากมักแปลจากหลังมาหน้า เช่น ผลิตผล โทษคุณ
๓. คำสมาสเมื่อออกเสียงต้องออกเสียงสระต่อเนื่องกัน เช่น ประวัติศาสตร์ มนุษยธรรม
๔. คำสมาสที่มี อะ ที่พยางค์ท้าย คำหน้าจะประวิสรรชนีย์ไม่ได้ เช่น กาลเทศะ มสณพราหมณ์
๕. ในระหว่างคำสมาสไม่ใช้เครื่องหมายทัณฑฆาต เช่น จันทรคติ แพทยศาสตร์


คำสนธิ
คำสนธิ เป็นคำสมาสชนิดหนึ่งในภาษาไทยหมายถึงคำที่มาจากภาษาบาลี-สันสกฤต มาเชื่อมต่อกัน ทำให้เสียงพยางค์หลังของคำแรกกลมกลืนกันกับเสียงพยางค์แรกของคำหลัง
๑. สระสนธิ คือการกลมกลืนคำด้วยเสียงสระ เช่น
ธนู+อาคม = ธันวาคม
ศิลปะ+อากร = ศิลปากร
ราช+ไอศูรย์ = ราไชศูรย์
๒. พยัญชนะสนธิ มีลักษณะคล้ายสระสนธิ เป็นการกลมกลืนเสียงระหว่างพยัญชนะกับพยัญชนะ เช่น
รหสฺ + ฐาน = รโหฐาน
มนสฺ + ภาว = มโนภาว (มโนภาพ)
ทุสฺ + ชน = ทุรชน
นิสฺ + ภย = นิรภัย
๓. นิคหิตสนธิ ได้แก่การเชื่อมคำที่ขึ้นต้นด้วยนฤคหิตหรือพยางค์ท้ายของคำหน้าเป็นนิคหิต กับคำอื่นๆ
๓.๑ สํ + พยัญชนะวรรค ให้เปลี่ยนนิคหิตอุทัยเป็นพยัญชนะสุดท้ายวรรค เช่น
สํ + กร = สังกร
สํ + จร = สัญจร
สํ + ฐาน = สัณฐาน
๓.๒ สํ + สระ ให้เปลี่ยนนิคหิตเป็น “ม” เช่น
สํ + คม = สมาคม
สํ + อาทาน = สมาทาน
สํ + อุทัย = สมุทัย
สํ + โอสร = สโมสร
๓.๓ สํ + เศษวรรค ให้เปลี่ยนนิคหิตเป็น “ง” เช่น
สํ + หรณ = สังหรณ์
สํ + วร = สังวร

คำแผลง

คำแผลง เป็นการสร้างคำใหม่ขึ้นใช่ในภาษา โดยเปลี่ยนแปลงเสียงสระ พยัญชนะ หรือวรรณยุกต์ของคำเพื่อให้มีคำใช้หลากหลาย เช่น วัชระ เป็น วัชรา หรือ วัชรี ( เปลี่ยนเสียงสระ ) , ปัญจะ เป็น เบญจะ หรือ เบญจา , วร เป็น พร หรือ พระ ( เปลี่ยนเสียงพยัญชนะและสระ ) , ดัง เป็น ดั่ง , เพียง เป็น เพี้ยง ( เปลี่ยนเสียงวรรณยุกต์ )
นอกจากนี้ยังมีคำภาษาเขมร ซึ่งไทยเรานำมาใช้ทั้งคำเดิมและคำที่แผลงแล้วอีกมากมาย เช่น ตรวจ เป็น ตำรวจ , ช่วย เป็น ชำร่วย , เพ็ญ เป็น บำเพ็ญ , ประทุก เป็น บรรทุก ,ประจุ เป็น บรรจุ ฯลฯ